เมนู

อากิญจัญญาตนสัญญา สหรคตด้วยอุเบกขา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข ฯลฯ อยู่ใน
สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วง
อากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วย
เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา สหรคตด้วยอุเบกขา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข ฯลฯ
อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
อรูปฌาน 4 แจกอย่างละ 16
อรูปาวจรกุศล จบ

อรรถกถาจิตตุปปาทกัณฑ์



ว่าด้วยอรูปาวจรกุศล 4



บัดนี้ เพื่อทรงแสดงอรูปาวจรกุศล จึงทรงเริ่มคำเป็นต้นว่า กตเม
ธมฺมา กุสลา
ดังนี้อีก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อรูปูปปตฺติยา ความว่า อรูปภพ
เรียกว่า อรูป ความเกิดขึ้นในอรูปเห็นปานนี้ เรียกว่า อรูปูปปัตติ. พระ-
โยคาวจรเจริญมรรคปฏิปทา เพื่อเข้าถึงอรูปภพนั้น.

บทว่า มคฺคํ ภาเวติ ความว่า ย่อมยังอุบาย คือ เหตุ คือ การณะ
ให้เกิดขึ้น คือ ให้เจริญขึ้น. บทว่า สพฺพโส ได้แก่ โดยอาการทั้งปวง
อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า ทั้งหมดไม่มีเหลือ. บทว่า รูปสญฺญานํ ได้แก่
รูปาวจรฌานที่ตรัสไว้โดยมีสัญญาเป็นประธานและเป็นอารมณ์ของฌานนั้น.
จริงอยู่ แม้รูปาวจรฌานก็ตรัสเรียกว่า รูป เหมือนในประโยคมีคำเป็นต้นว่า
ผู้มีรูปย่อมเห็นรูปทั้งหลาย ดังนี้ แม้อารมณ์แห่งรูปาวจรฌานนั้น ก็ตรัสว่า
รูป เหมือนในประโยคมีอาทิว่า ย่อมเห็นรูปภายนอกซึ่งมีผิวพรรณดีและไม่ดี
เพราะฉะนั้น ในที่นี้ คำว่า รูปสญฺญานํ นี้ จึงเป็นชื่อของรูปาวจรฌาน
ตามที่กล่าวไว้โดยมีสัญญาเป็นประธาน อย่างนี้ว่า สัญญาในรูป ชื่อว่า
รูปสัญญา ดังนี้ รูปาวจรฌานที่ชื่อว่า รูปสัญญา เพราะอรรถว่า มีรูป
เป็นเครื่องหมาย อธิบายว่า รูปเป็นชื่อของฌานนั้น. อนึ่ง คำว่า รูป นี้
ก็พึงทราบว่าเป็นชื่อของอารมณ์ของฌานนั้น อันต่างด้วยรูปมีปฐมวีกสิณเป็นต้น.
บทว่า สมติกฺกมา (เพราะก้าวล่วง) ได้แก่ เพราะสำรอก และ
ดับสนิท. คำนี้มีอธิบายไว้อย่างไร ? ท่านอธิบายว่า พระโยคาวจรเข้าอากาสา-
นัญจายตนะอยู่ เพราะสำรอก และดับสนิท คือเหตุที่สำรอกและเหตุที่ดับสนิท
ซึ่งรูปสัญญาทั้งหลายคือฌาน 15 โดยกุศล วิบาก และกิริยาเหล่านั้น และ
รูปสัญญาทั้งหลาย คือ อารมณ์ 8 อย่าง ด้วยสามารถปฐวีกสิณเป็นต้นเหล่านั้น
โดยอาการทั้งปวง หรือว่าโดยไม่มีส่วนเหลือ. จริงอยู่ พระโยคาวจรไม่สามารถ
เข้าอากาสานัญจายตนะนั้น โดยยังมิได้ก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวงใน
รูปสัญญาเหล่านั้น เพราะผู้ยังไม่คลายความยินดีในอารมณ์ก็ก้าวล่วงสัญญาไป
ไม่ได้ และเมื่อก้าวสัญญาทั้งหลายได้แล้ว อารมณ์ก็ย่อมเป็นอันก้าวล่วงไปได้
เหมือนกัน เพราะฉะนั้นจึงไม่ตรัสถึงการก้าวล่วงอารมณ์ ตรัสแต่การก้าวล่วง
สัญญาทั้งหลายเท่านั้นไว้ในวิภังค์ อย่างนี้ว่า

คำว่า เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง มีอธิบายว่า
รูปสัญญาเป็นไฉน ? การจำ กิริยาที่จำ ความจำของพระโยคาวจรผู้เข้ารูป-
สมาบัติ หรือของผู้อุบัติในรูปภูมิ หรือของพระอรหันต์ผู้อยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม
เหล่านี้ เรียกว่า รูปสัญญา ภิกษุก้าวล่วงแล้ว ข้ามแล้ว ข้ามพ้นแล้วซึ่ง
รูปสัญญาเหล่านี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา โดยประการ
ทั้งปวง ดังนี้. ก็เพราะสมาบัติเหล่านี้ พึงกล่าวด้วยการก้าวล่วงอารมณ์ มิใช่
กล่าวในอารมณ์หนึ่งเท่านั้น เหมือนปฐมฌานเป็นต้น ฉะนั้นพึงทราบว่า
การพรรณนาเนื้อความนี้ ทรงทำไว้ด้วยอำนาจการก้าวล่วงอารมณ์.
คำว่า ปฏิฆสญฺญานํ อตฺถงฺคมา (เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา)
ความว่า สัญญาที่เกิดขึ้นเพราะการกระทบวัตถุมีจักษุเป็นต้น และอารมณ์มี
รูปารมณ์เป็นต้น ชื่อว่า ปฏิฆสัญญา คำว่า ปฏิฆสัญญา นี้ เป็นชื่อของ
รูปสัญญาเป็นต้น. เหมือนอย่างที่ตรัสในวิภังค์ว่า คำว่า เพราะความดับไป
แห่งปฏิฆสัญญา ดังนี้ มีอธิบายว่า ปฏิสัญญาเป็นไฉน ? รูปสัญญา
สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา เหล่านี้ เรียกว่า
ปฏิฆสัญญา ดังนี้. มีอธิบายว่า เพราะดับ คือเพราะละ คือเพราะความ
ไม่เกิดขึ้น ได้แก่กระทำไม่ให้เป็นไป โดยประการทั้งปวงแห่งปฏิฆสัญญาแม้
ทั้ง 10 คือ กุศลวิบาก 5 อกุศลวิบาก 5 แห่งปฏิฆสัญญาเหล่านั้น. ก็
ปฏิฆสัญญาเหล่านั้น ย่อมไม่มีแม้แก่ผู้เข้าฌานมีปฐมฌานเป็นต้นโดยแท้ เพราะ
ในสมัยนั้น จิตย่อมไม่เป็นทางการปัญจทวาร. แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น พึงทราบ
คำที่ตรัสถึงปฏิฆสัญญาเหล่านั้น ในอภิธรรมนี้ ด้วยสามารถแห่งการยกย่องฌานนี้
เพื่อการยังฌานนี้ให้เกิดขึ้น เหมือนการกล่าวถึงสุขและทุกข์อันละได้แล้ว ใน

ฌานอื่นไว้ในฌานที่ 4 และเหมือนการกล่าวถึงสักกายทิฏฐิเป็นต้น อันละ
ได้แล้วในมรรคอื่นไว้ในมรรคที่ 3 ฉะนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง ปฏิฆสัญญาเหล่านี้ไม่มีอยู่แก่ผู้เข้ารูปาวจรฌานก็จริง
แต่ย่อมไม่มีเพราะละได้แล้วก็หาไม่ เพราะว่า การเจริญรูปาวจรมิใช่เป็นไป
พร้อมเพื่อความคลายความยินดีในรูป. อนึ่ง ปฏิฆสัญญาเหล่านี้ย่อมเป็นไปพร้อม
เพราะอาศัยรูป แต่ภาวนานี้ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อคลายความยินดีในรูป
เพราะฉะนั้น สมควรจะกล่าวได้ว่าปฏิฆสัญญาเหล่านั้น พระโยคาวจรละได้แล้ว
ในฌานนี้. อนึ่ง ไม่ใช่เพียงการกล่าวเท่านั้น แม้การทรงจำไว้อย่างนี้ โดย
ส่วนเดียวนั่นแหละก็สมควร จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เสียงเป็น
หนาม (ข้าศึก) ของผู้เข้าปฐมฌาน ดังนี้ เพราะยังละไม่ได้ในกาลก่อน
แต่กาลนี้ แต่ในที่นี้พระองค์ตรัสความที่อรูปสมาบัติทั้งหลายเป็นอเนญชา และ
ความที่อรูปสมาบัติทั้งหลายเป็นสันติวิโมกข์ เพราะละ (ปฏิฆสัญญา) ได้แล้ว
โดยแท้ ก็อาฬารดาบสกาลามโคตรเข้าอรูปฌาน ไม่ได้เห็นและไม่ได้ยินเสียง
เกวียนประมาณห้าร้อยเล่มซึ่งผ่านไปใกล้ที่อาศัย.
บทว่า นานตฺตสญฺญานํ อมนสิการา (เพราะไม่มนสิการซึ่ง
นานัตตสัญญา) ความว่า สัญญาทั้งหลายที่เป็นไปในอารมณ์ต่างกัน หรือสัญญา
ทั้งหลายต่างกัน ก็ในที่นี้ประสงค์เอาสัญญาเหล่านี้ ที่ตรัสจำแนกไว้ในวิภังค์
อย่างนี้ว่า ในสัญญาเหล่านั้น นานัตตสัญญาเป็นไฉน ? สัญญา กิริยาที่จำได้
ความเป็นผู้จำได้ของผู้ไม่เข้าสมาบัติ หรือว่า ผู้พรั่งพร้อมด้วยมโนธาตุ หรือว่า
ผู้พรั่งพร้อมด้วยมโนวิญญาณธาตุ เหล่านั้นเรียกว่า นานัตตสัญญาทั้งหลาย และ

สัญญาที่พรั่งพร้อมด้วยมโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุของผู้ไม่เข้าสมาบัติ
ย่อมเป็นไปในอารมณ์อันมีความแตกต่างกัน และสภาวะที่ต่างกันซึ่งต่างกันด้วยรูป
และเสียงเป็นต้น.
อนึ่ง สัญญาเหล่านี้แม้ทั้ง 44 อย่างนี้ คือ
กามาวจรกุศลสัญญา 8
อกุศลสัญญา 12
กามาวจรกุศลวิปากสัญญา 11
อกุศลวิปากสัญญา 2
กามาวจรกิริยสัญญา 11

มีความต่างกัน มีสภาวะต่างกัน ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า นานัตตสัญญา เพราะไม่มนสิการ เพราะไม่ใคร่ครวญ เพราะ
ไม่คำนึง เพราะไม่นำมา เพราะไม่พิจารณานานัตตสัญญาเหล่านั้น โดย
ประการทั้งปวง ท่านอธิบายไว้ว่า เพราะไม่ใคร่ครวญ ไม่มนสิการ ไม่พิจาร-
ณาสัญญาเหล่านั้น ก็เพราะในอากาสานัญจยตนะนั้น รูปสัญญา ปฏิฆสัญญา
ข้างต้น ย่อมไม่มีแม้ในภพที่เกิดขึ้นด้วยฌานนี้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงในกาลที่
เข้าฌานนี้ในภพนั้นอยู่ เพราะฉะนั้น จึงตรัสความไม่มีสัญญาแม้ทั้ง 2 นั้น
ด้วยคำว่า เพราะความก้าวล่วง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญาเหล่านั้น
ดังนี้. แต่ในนานัตตสัญญาทั้งหลาย สัญญา 27 อย่างนี้ คือ กามาวจร-
กุศลสัญญา 8 กิริยาสัญญา (มหากิริยา 7 มโนทวาราวัชชน 1) 9 อกุศลสัญญา
(เว้นโทสะ 2) 10ไม่มีในภพที่เกิดแล้วด้วยฌานนี้ เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า
คำนี้ตรัสไว้ว่า เพราะไม่มนสิการสัญญาเหล่านั้น เพราะว่า แม้ในการเกิดขึ้น

เมื่อพระโยคาวจรเข้าฌานนี้อยู่ ก็เข้าฌานเพราะไม่มนสิการสัญญาเหล่านั้นเลย
แต่เมื่อมนสิการสัญญาเหล่านั้นก็ย่อมไม่เป็นอันเข้า ดังนี้ ก็เมื่อว่าโดยย่อใน
สัญญาเหล่านั้น ตรัสการละรูปาวจรธรรมทั้งปวง ด้วยคำนี้ว่า รูปสญฺญานํ
สมติกฺกมา
(เพราะการก้าวล่วงรูปสัญญาทั้งหลาย) ดังนี้ และพึงทราบว่า
ตรัสการละและการไม่มนสิการจิตและเจตสิกที่เป็นกามาพจรทั้งปวง ด้วยคำนี้ว่า
ปฏิฆสญฺญานํ อตฺถงฺคมา นานตฺตสญฺญานํ อมนสิการา เพราะความ
ดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการซึ่งนานัตตสัญญา เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสชี้แจงอากาสานัญจายตนสมาบัติไว้ด้วยบททั้ง 3 คือ
ด้วยการก้าวล่วงรูปสัญญา 15 อย่าง ด้วยการดับไปแห่งปฏิฆสัญญา 10 อย่าง
ด้วยการไม่มนสิการมานัตตสัญญา 44 อย่าง.
หากมีคำถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงชี้แจงอย่างนั้น
ตอบว่า เพื่อจะให้เกิดความอุตสาหะ และเพื่อประโลมใจ (ทำให้เบิกบานใจ)
แก่ผู้ฟังทั้งหลาย ก็ถ้าหากอาจารย์บางพวกซึ่งมิใช่บัณฑิตจะพึงกล่าวว่า พระ-
ศาสดาย่อมตรัสว่า พวกท่านจงทำอากาสานัญจายตนสมาบัติให้เกิด ดังนี้ ก็
อะไรหนอเป็นประโยชน์ อะไรหนอเป็นอานิสงส์ของอากาสานัญจายตนสมาบัติ
ที่เกิดขึ้นนั้น เพราะฉะนั้น พระองค์จึงทรงชี้แจงสมาบัติด้วยเหตุเหล่านี้ โดย
พระดำริว่า ขอชนเหล่านั้นอย่าได้เพื่อกล่าวอย่างนี้เลย ดังนี้. จริงอยู่ ชน
เหล่านั้นได้ฟังพระดำรัสนั้นแล้ว ก็จักคิดว่า ได้ยินว่า สมาบัตินี้จักเป็นเช่นนี้
จักสงบอย่างนี้ จักประณีตอย่างนี้ พวกเราจักยังสมาบัตินั้นให้เกิด ทีนั้น
พวกเขาจักพากันทำอุตสาหะเพื่อให้สมาบัตินั้นให้เกิดขึ้น ดังนี้.
ก็อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสยกย่องอากาสานัญจายตน-
สมาบัตินี้ แก่พระโยคาวจรเหล่านั้นเพื่อประโลมใจ เหมือนพ่อค้างบน้ำอ้อย

ชื่อ วิสกัณฐกะ ท่านเรียกวิสกัณฐกพาณิชว่า ผู้ค้างบน้ำอ้อย ได้ยินว่า
พ่อค้างบน้ำอ้อยนั้น ใช้เกวียนบรรทุกน้ำอ้อยงบและน้ำตาลกรวดเป็นต้นไป
ปัจจันตคามแล้วโฆษณาว่า พวกท่านจงมารับน้ำอ้อยงบวิสกัณฐกะ พวกท่าน
จงนารับน้ำอ้อยงบ วิสกัณฐกะ ดังนี้. พวกชาวบ้านฟังโฆษณานั้นแล้ว
ก็คิดว่า สิ่งนี้ร้ายนัก ชื่อว่า มีพิษ บุคคลใดเคี้ยวกินมัน บุคคลนั้นต้องตาย
แม้หนามแทงแล้วก็ให้ตายได้ สิ่งทั้ง 2 นี้ร้ายนัก มันจะมีประโยชน์อะไร ดังนี้
จึงพากันปิดประตูบ้าน และให้พวกเด็กหนีไป. พ่อค้าเห็นการกระทำนั้นแล้ว
จึงคิดว่า ชาวบ้านเหล่านั้นไม่ฉลาดในโวหาร เอาเถอะเราจักใช้เขาซื้อไปด้วย
อุบาย จึงโฆษณาว่า พวกท่านจงมารับน้ำผึ้งหวาน พวกท่านจงมารับน้ำตาล
อร่อย พวกท่านจะได้น้ำอ้อยงบและน้ำตาลกรวดราคาพอสมควร จะเอา
มาสกปลอม และกหาปณะปลอมเป็นต้นมาซื้อก็ได้ ดังนี้. พวกชาวบ้านฟังคำ
นั้นแล้ว ต่างก็พากันร่าเริงดีใจไปให้ราคาแม้มากถือเอาแล้ว.
ในคำเหล่านั้น พึงเทียบเคียงอุปมาพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า พวกเธอจงยังอากาสานัญจายตนสมาบัติให้เกิดดังนี้ เปรียบเหมือน
การโฆษณาของพ่อค้าว่า พวกท่านจงรับงบน้ำอ้อยวิสกัณฐกะ ดังนี้. พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสว่า พวกเธอพึงทำอากาสานัญจายตนะให้เกิดดังนี้ เปรียบ
เหมือนพวกชาวบ้านพากันคิดว่า สิ่งทั้ง 2 นี้ร้ายกาจนัก อะไรเล่า เป็นประ-
โยชน์ในที่นี้. คนที่ฟังก็จะคิดว่า อะไรหนอเป็นอานิสงส์ในที่นี้ พวกเราย่อม
ไม่ทราบคุณของสิ่งนี้ ทีนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประกาศอานิสงส์ มีการ
ก้าวล่วงรูปสัญญาเป็นต้น เหมือนเมื่อพ่อค้านั้นโฆษณาคำเป็นต้นว่า พวกท่าน
จงมารับเอาน้ำผึ้งหวานไปเถิด ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสรรเสริญคุณ

อากาสานัญจายตนสมาบัติ ก็เพื่อให้เกิดความอุตสาหะ และเพื่อประโลมใจ
ด้วยทรงพระดำริว่า ชนเหล่านี้อันพระองค์ให้รื่นเริงพอใจแล้ว ด้วยอานิสงส์นี้
จักทำอุตสาหะใหญ่แล้วจักยังสมาบัติให้เกิด ดังนี้ เหมือนชาวบ้านทั้งหลาย
เหล่านั้นฟังคำโฆษณาพ่อค้า แล้วให้ราคาแม้มาก ถือเอางบน้ำอ้อย ฉะนั้น

วินิจฉัยคำว่าอากาสานัญจายตนะ



พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อากาสานญฺจายตนสญฺญาสหคตํ
ดังต่อไปนี้. อากาศที่ชื่อว่า อนันตะ เพราะอรรถว่า ไม่มีที่สุด. อากาศ
นั่นแหละไม่มีที่สุด ชื่อว่า อากาสานันตะ อากาสานันตะนั่นแหละ ชื่อว่า
อากาสานัญจะ อากาศอันไม่มีที่สุดนั้น ชื่อว่า อายตนะ เพราะอรรถว่า
เป็นที่ตั้งมั่นของฌานพร้อมทั้งสัมปยุตธรรมนี้ ดุจที่ตั้งอยู่ของเทพทั้งหลาย
ชื่อว่า เทวายตนะ เพราะฉะนั้น ฌานนี้จึงชื่อว่า อากาสานัญจายตนะ
ด้วยประการฉะนี้ อากาสานัญจะนั้นด้วย เป็นอายตนะด้วย เพราะฉะนั้นจึง
ชื่อว่า อากาสานัญจายตนะ คำว่า อากาสานัญจายตนะนี้ เป็นชื่อของกสิ-
ณุคฆาฏิมากาส (อากาศที่เพิกกสิณ). ฌานที่สหรคตกับสัญญาที่ถึงอัปปนาใน
อากาสานัญจายตนะนั้น ชื่อว่า อากาสานัญจายตนสัญญาสหคตะ ก็ในที่
อื่นตรัสว่า อากาศเป็นอนันตะ (ไม่มีที่สุด) ฉันใด ในที่นี้มิได้ทรงถือเอา
อากาศอันไม่มีที่สุด หรือว่า เล็กน้อยฉันนั้น เพราะเมื่อทรงถือเอาอากาศอัน
ไม่มีที่สุด ก็ไม่ถือเอาอากาศเล็กน้อย เมื่อถือเอาอากาศเล็กน้อยก็ไม่ถือเอา
อากาศอันไม่มีที่สุด ครั้นเมื่อเป็นเช่นนั้น อารมณ์ 4 หมวดก็ไม่สมบูรณ์
เทศนาก็ไม่ได้ 16 ครั้ง แต่พระอัธยาศัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อทำเทศนา
ในที่นี้ 16 ครั้ง เพราะฉะนั้น จึงไม่ตรัสคำว่า ไม่มีที่สุด หรือว่าเล็กน้อย แต่